ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Bitter bush, Siam weed
Bitter bush, Siam weed
Chromolaena odorata (L.) R.M.King
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Compositae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Chromolaena odorata (L.) R.M.King
 
  ชื่อไทย สาบเสือ
 
  ชื่อท้องถิ่น พาพั้งขาว(ไทใหญ่), หญ้าเมืองวาย(ลั้วะ,คนเมือง), ด่อมังฮ่ามรุ่ย(ปะหล่อง), กู๋จ๊ะเมีย(เมี่ยน), จอดละเห่า(ม้ง), หญ้าวังวาย(ไทลื้อ), ยาแพ้(ขมุ), หญ้าวาย(ลั้วะ), ชีโพแกว่ะ,เชโพแกว่ะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ซิพูกุ่ย(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขามากมาย จนดูเป็นทรงพุ่ม ตามลำต้นและกิ่งก้านจะมีขนนุ่มประปราย ลำต้นสูงประมาณ 3 – 5 ฟุต
ใบ มีเป็นไม้ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปหอก ปลายแหลม โคนใบสอบแคบ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ตัวใบจะมีขนปกคลุมทั่วทั้งใบ มีสีเขียวขนาดของใบกว้างประมาณ 1 – 2.5 นิ้ว ยาว 2 – 4 นิ้ว ก้านใบยาว 1 – 2 นิ้ว มีขนปกคลุมด้วย
ดอก ออกเป็นช่อ อยู่ตรงส่วนยอดของต้น ลักษณะของดอกที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นหลอด และตรงปลายจะแยกออกเป็น 5 กลีบ สีน้ำเงินอมม่วงอ่อน ๆ หรือสีขาวม่วง
ผล มีขนาดเล็ก แห้ง เรียวบาง มีสีดำ ซึ่งผลนี้จะเป็นสัน หรือเป็นเหลี่ยม 5 เหลี่ยม ยาวประมาณ 4 มม.[1]
 
  ใบ ใบ มีเป็นไม้ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปหอก ปลายแหลม โคนใบสอบแคบ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ตัวใบจะมีขนปกคลุมทั่วทั้งใบ มีสีเขียวขนาดของใบกว้างประมาณ 1 – 2.5 นิ้ว ยาว 2 – 4 นิ้ว ก้านใบยาว 1 – 2 นิ้ว มีขนปกคลุมด้วย
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อ อยู่ตรงส่วนยอดของต้น ลักษณะของดอกที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นหลอด และตรงปลายจะแยกออกเป็น 5 กลีบ สีน้ำเงินอมม่วงอ่อน ๆ หรือสีขาวม่วง
 
  ผล ผล มีขนาดเล็ก แห้ง เรียวบาง มีสีดำ ซึ่งผลนี้จะเป็นสัน หรือเป็นเหลี่ยม 5 เหลี่ยม ยาวประมาณ 4 มม.
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ใบ ต้มน้ำอาบแก้ตัวบวมหรือขยี้ใส่แผลช่วยห้ามเลือด(ไทใหญ่)
ใบ ขยี้ใส่แผลสด ช่วยห้ามเลือด(ลั้วะ,ปะหล่อง,เมี่ยน,ม้ง,ขมุ,ไทลื้อ,คนเมือง,กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ราก ต้มน้ำดื่มรักษาโรคกระเพาะ, ใบ ขยี้ใส่แผลสด ช่วยห้ามเลือด(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- ทั้งต้น : มีกลิ่นหอมแรง ใช้เป็นยาฆ่าแมลง แต่ถ้านำมาใช้แต่น้อยก็เป็นที่น้ำหอมได้ดีอีกด้วย
ใบ : นำมาตำผสมกับปูนพอกห้ามเลือด และช่วยกระตุ้นการทำงานหรือควบคุมการหดตัวของลำไส้สัตว์ และมีผลต่อมดลูกของสัตว์[1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
 
  สภาพนิเวศ พบได้ตามที่รกร้างทั่วไป ชอบพื้นที่แห้งแล้ง แสงแดดจัด
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง